ชื่อไทย : ว่านเพชรหึง
ชื่อท้องถิ่น : กล้วยกา(สุราษฎร์ธานี)/ ตับตาน(แพร่)/ มือตับแก(ชุมพร)/ ว่านงูเหลือม(ใต้)/ ว่านหางช้าง(กทม.,เลย)/ เอื้องพร้าว(เชียงใหม่,เหนือ) 
ชื่อสามัญ : Letter plant  
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Grammatophyllum speciosum Blume
ชื่อวงศ์ : ORCHIDACEAE
ลักษณะวิสัย : กล้วยไม้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :
กล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยแท่งกลมขนาดใหญ่ ยาว 1-2 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 3 – 5 ซม.
ใบ :
เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปแถบ กว้าง 3-4 ซม. ยาว 30-60 ซม. เรียงตัวระนาบเดียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น
ดอก :
กลีบเลี้ยงและกลีบดอกพื้นสีเหลืองหม่น มีประสีน้ำตาลแกมม่วงกระจายทั่วกลีบ กลีบปากเล็กกว่ากลีบอื่นๆ แยก 3 แฉก ส่วนกลางกลีบมีสันนูน 3 สัน ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ช่อดอกตรงหรือเอนเล็กน้อย ยาวได้ถึง 2 เมตร ดอกบานเต็มที่กว้าง 6-8 ซม. ดอกทยอยบานเป็นเวลานาน
ผล :
เป็นผลแห้ง แตกออกได้
ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : กรกฎาคม สิ้นสุดระยะติดดอก : ตุลาคม
เริ่มติดผล : สิ้นสุดระยะติดผล :

สภาพทางนิเวศวิทยา :

นิเวศวิทยา พบขึ้นตามป่าดิบชื้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้

ถิ่นกำเนิด

การกระจายพันธุ์ พม่า ลาว เวียดนาม และภูมิภาคมาเลเซีย

การใช้งานด้านภูมิทัศน์

การปลูกและการขยายพันธุ์ :
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ :

- ลำต้น ผสมเหล้าเอาส่วนน้ำกิน เอากากพอกแผล แก้อักเสบเนื่องจากงู ตะขาบ แมงป่อง

กัดต่อย แต่ถ้าอักเสบจากงูกัดอาจใช้สมุนไพรก่อนแล้วจึงนำส่งโรงพยาบาล [1]

แหล่งอ้างอิง : [1] คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงาน มหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [2] องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2551. กล้วยไม้ไทย 2. Thai Native Orchids 2. พิมพ์ครั้งที่ 1. หจก. วนิดาการพิมพ์. เชียงใหม่. [3] อบฉันท์ ไทยทอง. 2552. กล้วยไม้เมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 16. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.
ประเภทของการใช้ประโยชน์ :
กล้วยไม้
พืชสมุนไพร
ที่อยู่ :
หมายเหตุ : กล้วยไม้ขนาดใหญ่ที่สุด ปัจจุบันพบน้อยลงมาก
รูปพรรณไม้ :
   
Copyright © 2011 Royalpark Rajapruek All rights reserved.
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร 053-114110-5 แฟกซ์ 053-114196 E-Mail : [email protected]
เริ่มใช้งานระบบเมื่อ 1 มิถุนายน 2554